วางแผนทางการเงินเบื้องต้นสำหรับมือใหม่

การวางแผนเกี่ยวกับการเงินไม่ได้มีเกี่ยวข้องเพียงแค่นักธุรกิจเพียงเท่านั้น แต่ยังคงมีความสำคัญต่อคนทั่วไปไม่ว่าจะอยู่ในอาชีพใดก็ตาม หากมีการวางแผนด้านการเงินจะมีประโยชน์อย่างมากต่อการดำเนินชีวิตประจำวันเพราะเป็นการป้องกันไม่ให้นำเงินไปใช้จ่ายสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ ในบทความนี้จะมากล่าวถึงการวางแผนด้านการเงินว่ามีขั้นตอนเป็นอย่างไรบ้าง

ขั้นตอนการวางแผนด้านการเงิน

ขั้นเริ่มแรกของการวางแผนการเงินนั้น สิ่งที่ต้องมีคือรายรับจะต้องมีเยอะเมื่อเทียบกับรายจ่าย หลังจากที่ได้รับเงินเดือนมา จำเป็นต้องลบค่าใช้จ่ายซึ่งมีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตก่อนการใช้จ่ายเรื่องอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น ค่าอาหาร ค่าที่อยู่อาศัย ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีวิตไม่ว่าจะเป็นของจิปาถะ เครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม ไลฟ์สไตล์ ค่าใช้จ่ายเพื่อสนองความต้องการของตนเอง เมื่อหักลบค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องใช้ ก็ให้เหลือเงินจำนวนหนึ่งออกมา 3 ก้อน นั่นก็คือ การวางแผนการเงินตามระยะเวลา รวมถึงการกำหนดเป้าหมายว่าจะใช้เงินทำสิ่งใดบ้างเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัว หากรู้วิธีบริหารเงินและการนำเงินไปใช้ให้เกิดประโยชน์ก็ทำให้การดำรงชีวิตสะดวกสบาย ราบรื่นยิ่งขึ้น

ระยะเวลาการวางแผนด้านการเงิน

ในส่วนของระยะเวลาในการวางแผนที่เกี่ยวข้องกับการเงิน จะสามารถแบ่งออกได้ทั้งหมด 3 ระยะ ดังนี้

  • ระยะสั้น ( Short Term ) โดยจะเป็นระยะตั้งแต่ 0-1 ปี จะเป็นการเก็บเงินเพื่อใช้สำรองเมื่อตกงานหรือมีเหตุการณ์ฉุกเฉินที่จำเป็นต้องใช้เงิน อย่างต่ำคือ 3-6 เท่าของเงินที่จำเป็นต้องใช้ในทุกเดือน ซึ่งเงินสำรองนี้ควรนำไปไว้ที่กองทุนตลาดเงินหรือเก็บไว้ในบัญชีออมทรัพย์ จุดประสงค์ก็คือ นำเงินที่ฝากถอนไปใช้ยามฉุกเฉินได้ในทันที อีกทั้งยังมีความเสี่ยงต่ำอีกด้วย หลังจากเก็บสามเดือนก็นำไปใช้ได้เลย
  • ระยะกลาง ( Medium Term ) โดยจะเป็นระยะตั้งแต่ 3-7 ปี เป็นเงินเก็บเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตนเองหรือสิ่งที่จำเป็นในขณะนั้น รวมไปถึงการใช้เพื่อความฝันของตนเองซึ่งจะเกิดขึ้นในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น ซื้อรถ ซื้อบ้าน ค่าเล่าเรียน ค่าเทอมบุตรในอนาคต ค่าแต่งงาน ค่าเที่ยว สามารถเก็บไว้ในกองทุนรวมตราสารทุน กองทุนรวมตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ พันธบัตรรัฐบาล หรือสินทรัพย์อื่น ๆ มีจุดประสงค์ก็คือ การเงินที่งอกเงย ชนะเงินเฟ้อที่อยู่ในระยะกลางได้ ความเสี่ยงมีตั้งแต่ปานกลางถึงขั้นสูง เหมาะกันที่ยอมรับกับความเสี่ยงทุกแบบ 
  • ระยะยาว ( Long Term ) โดยเป็นระยะที่มากกว่า 7 ปี จะเก็บไว้สำหรับวัยสูงอายุหรือก็คือวัยเกษียณซึ่งเป็นเป้าหมายการใช้เงินที่อยู่ในระยะยาว เก็บไว้ที่กองทุนรวมลดหย่อนภาษีทั้ง RMF กับ SSF กองทุนรวม ประกันชีวิต หรือทางเลือกสินทรัพย์ตัวเลือกอื่น ๆ อีกมากมาย จุดประสงค์ก็คือการทำให้เงินมีมูลค่ายิ่งขึ้นและชนะเงินเฟ้อระยะยาวได้ ลงทุนนานเท่าไหร่ ความเสี่ยงจะลดลง ซึ่งความเสี่ยงในการลงทุนรูปแบบนี้จะมีตั้งแต่ระดับปานกลางไปจนถึงระดับสูง

จะเห็นได้ว่า การวางแผนทางด้านการเงินสำหรับมือใหม่มีความสำคัญสำหรับการใช้เงินในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมากเนื่องจากเงินคือสิ่งจำเป็นและมีผลต่อชีวิตมาก หากลงทุนและเก็บออมเงินเป็นก็ทำให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างไม่ติดขัด ลดปัญหาขาดสน ไม่ลำบากในอนาคต แล้วยังสามารถทำเงินให้งอกเงยมากกว่าเดิมด้วย